วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปอดหมู

ปอด เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ใช้ในการหายใจ หน้าที่หลักของปอดก็คือ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำงานโดยการประกอบกันขึ้นของเซลล์เป็นจำนวนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์ที่ว่านี้มีลักษณะเล็กและบางเรียงตัวประกอบกันเป็นถุงเหมือน ลูกโป่ง ซึ่งในถุงลูกโป่งนี้เองที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซต่าง ๆ เกิดขึ้น นอกจากการทำงานแลกเปลี่ยนก๊าซแล้ว ปอดยังทำหน้าที่อื่นๆอีก
คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า pulmonaly นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่ เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจาก กันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้วิธีการทำงานการแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอดที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดแดงฝอยติดอยู่ ดังนั้นอากาศจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงมากออกชิเจนก็จะผ่านผนังนี้ เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และคาร์บอนไดออกไชด์ก็จะออกจากเม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกขิเจนร้อยละ 13

กำจัดของเสียทางปอด
การกำจัดของเสียทางปอด กำจัดออกมาในรูปของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นผลที่ได้จากกระบวนการหายใจ โดยน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดและเลือดจะทำ หน้าที่ลำเลียงไปยังปอด แล้วแพร่เข้าสู่ถุงลมที่ปอด หลังจากนั้นจึงเคลื่อนผ่านหลอดลมแล้วออกจากร่างกายทางจมูก ซึ่งเรียกว่ากระบวนการ metabolism
หน้าที่ของปอด
o หน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
o หน้าที่อื่น ๆ นอกจากการหายใจ
o การควบคุมและขับสารต่าง ๆ เช่น ยา, แอลกอฮอล์ ออกจากระบบเลือด
o กรองลิ่มเลือดเล็ก ๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ
o ปกป้องและรับแรงกระแทกที่จะทำอันตรายต่อหัวใจซึ่งอยู่ตรงกลางช่องทรวงอก
องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้วย
โครงสร้างของปอด [ Lung ]

ปอด มีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นภายในปอดมีหลอดลมเล็กๆ ที่มีผนังบางมาก เรียกว่า หลอดลมฝอย (bronchiole) ผนังของหลอดลมฝอยจะบางลงตามลำดับ และปลายสุดของหลอดลมฝอยจะมี ถุงลม (alveolus) ทั้งหลอดลมและถุงลมจะมีกระดูกอ่อนแทรกอยู่ เพื่อป้องกันการแฟบของหลอดลมเนื้อเยื่อปอดภายนอกถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อพลูรา ซึ่งมีสองชั้น ชั้นในติดกับเนื้อปอด ชั้นนอกติดกับกล้ามเนื้อที่ยึดกระดูกซี่โครง ระหว่างชั้นนอกกับชั้นในจะเป็นช่องว่างสูญญากาศ ทำให้เยื่อพลูราทั้ง 2 ชั้นอยู่ติดแนบสนิทกันเสมอ ปอดมีความยืดหยุ่นสูง และขยายตัวได้มาก มีประโยชน์ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนพอเพียง และการมีถุงลมมาก ก็จะทำให้มีพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สได้มาก การมีเส้นเลือดฝอยในปอดมากช่วยให้เลือดได้รับออกซิเจนมากขึ้นและรวดเร็ว ปอดจึงเป็นโครงสร้างที่เหมาะสมในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
โครงสร้างและคุณสมบัติของปอด
อากาศที่ไหลเข้าสู่ปอดจะต้องผ่านอวัยวะต่าง ๆ หลายส่วน เริ่มแรกจากทางจมูกหรือปากผ่านไปทางหลอดลม ซึ่งมีหน้าที่ทำความสะอาดเพิ่มความชื้นและทำให้อากาศอบอุ่นก่อนที่จะไปถึง ถุงลม อากาศจากหลอดลมจะผ่านไปตามท่อแยกซึ่งเข้าสู่ปอดซีกซ้ายและขวา ไหลเข้าสู่ถุงลม (bronchiole) และถุงลมเล็กในปอด (alveoli) เพื่อไปแลกเปลี่ยนก๊าซกับเลือดที่มาสู่ปอดต่อไป
ความจุปอด (Lung Capacity)
ความจุปอด หมายถึง ความสามารถของปอด ที่จะรับปริมาณของอากาศเข้าสู่ปอดหรือระบายอากาศออกจากปอด ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของการหายใจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• ปริมาณของอากาศขณะที่หายใจเข้าออกตามปกติ (Tidal volume, TV) มีปริมาณ 500 มิลลิลิตร
• ปริมาณ ของอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่ ลบด้วยปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าออกตามปกติ (Inspiratory reserve volume, IRV) มีปริมาณ 2,500 มิลลิลิตร
• ปริมาณของอากาศที่หายใจออกเต็มที่ ลบด้วยปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าออกตามปกติ (Expiratory reserve volume, ERV) มีปริมาณ 1,000 มิลลิลิตร
• ปริมาณของอากาศที่เหลืออยู่ในปอด หลังจากหายใจออกอย่างเต็มที่แล้ว (Residual volume, RV) มีปริมาณ 1,500 มิลลิลิตร
• ปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่หลังจากการหายใจออกอย่างเต็มที่ (Vital capacity, VC) มีปริมาณ 4,500 มิลลิลิตร
• ปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่ หลังจากหายใจออกตามปกติ (Inspiratory capacity ; IC) มีปริมาณ 3,000 มิลลิลิตร
• ปริมาณของอากาศในปอดหลังจากหายใจเข้าเต็มที่ (Total lung capacity, TLC) มีปริมาณ 6,000 มิลลิลิตร
• ปริมาณของอากาศที่เหลืออยู่ในปอด หลังจากการหายใจออกตามปกติ (Functional reaidual capacity, FRC) มีปริมาณ 2,500 มิลลิลิตร
• ปริมาณของอากาศที่ไม่ได้เข้าไปในถุงลมในปอด (Dead apace) คือ อากาศที่ค้างอยู่ตามจมูก หลอดลม ก้านปอด มีปริมาณ 150 มิลลิลิตร

ปริมาณของอากาศที่หายใจ (Minute Volume or Pulmonary Ventilation)
ปกติแล้วการหายใจเข้าออกเราจะวัดปริมาตรเป็นอัตราต่อนาทีในขณะที่ร่างกายพัก จะมีปริมาณของอากาศที่หายใจ ประมาณ 5 – 8 ลิตรต่อนาที โดยการหายใจนาทีละประมาณ 12 – 20 ครั้ง แต่ขณะที่ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก ปริมาณจะเพิ่มขึ้นถึง 130 ลิตรต่อนาทีในเพศหญิง และ 180 ลิตรต่อนาทีในเพศชาย ส่วนนักกีฬาที่ได้รับการฝึกอย่างดี ขณะออกกำลังกายหนัก ๆ อาจจะมีปริมาณของอากาศที่หายใจถึง 200 ลิตรต่อนาที และอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นถึง 50 – 60 ครั้งต่อนาที
การแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอด
การแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างถุงลมในปอดกับเลือด ซึ่งอยู่ในเส้นเลือดฝอยรอบ ๆ ถุงลมในปอด เป็นไปตามกฎของการแพร่กระจาย คือก๊าซที่มีความดันมากจะแพร่ไปสู่ที่มีความดันน้อยกว่า การหาความดันของก๊าซแต่ละชนิดคิดตามร้อยละของส่วนผสมของก๊าซแต่ละชนิดใน บรรยากาศ ซึ่งเป็นตามกฎของดัลตัน (Dalton’s Law) เมื่อบรรยากาศในความดัน 760 มิลลิเมตร






แหล่งอ้างอิง *0*http://www.thaigoodview.com/node/57833?page=0%2C3



1 ความคิดเห็น:

  1. Casinos in Harrah's Cherokee, NC | Mapyro
    The property offers 김제 출장안마 over 200 gaming machines, and over 1600 video poker 광주 출장샵 machines, over 8,100 table games, and a 수원 출장샵 live 여주 출장안마 casino. Visit 창원 출장안마 your Cherokee

    ตอบลบ